การใช้จุลินทรีย์ทางการเกษตรเพื่อเพิ่มผลิตภาพน้ำยางพารา
|
|
|
บทนำ
|
ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย
ปริมาณความต้องการใช้น้ำยางพาราสำหรับอุตสาหกรรมในประเทศนับวันจะเพิ่มขึ้น
การแนะนำส่งเสริมการใช้จุลินทรีย์ที่ผลิตและ
รับรองมาตรฐานโดยกรมพัฒนาที่ดินเพื่อเพิ่มคุณภาพและผลผลิตน้ำยางพารา
เป็นอีกแนวทางหนึ่ง
ที่เป็นทางเลือกของเกษตรกรในการเพิ่มผผลิตและรายได้ของผู้ปลูกยางพาราเนื่องจากจุลินทรีย์ที่นำมาใช้ในการเพิ่มผลิตภาพของน้ำยางพารา
สามารถเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน และมีการทดลอง
ที่เชื่อถือได้ว่า
เชื้อจุลินทรีย์ที่รับรองโดยกรมพัฒนาที่ดิน เป็นจุลินทรีย์ที่สามารถควบคุมเชื้อสาเหตุของโรคราก
และโคนเน่าในไม้ผล
|
|
ประโยชน์จากการใช้จุลินทรีย์ทางการเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิตภาพน้ำยางพารา
|
|
1)
|
การเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน โดยการใส่ปุ๋ยหมักและนำเศษใบยางพารารักษาความชื้นของดิน
และปรับปรุงบำรุงดิน
|
|
|
1.1
วิธีการผลิตปุ๋ยหมักโดยใช้สารเร่ง
พด. 1
มีส่วนผสมในการผลิตปุ๋ยหมัก คือ
|
|
-
ใบยางพาราที่ร่วงหล่นหรือวัสดุเศษพืช
1
ตัน
- มูลสัตว์ 200 กิโลกรัม
- ปุ๋ยยูเรีย 2 กิโลกรัม สารเร่ง พด. 1 จำนวน 1 ซอง (100 กรัม)
|
|
|
วิธีการใส่ปุ๋ยหมัก
|
|
-
ช่วงการเจริญเติบโต
ใส่ปุ๋ยหมักระหว่างแถวปลูกยางพารา อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่
- ช่วงก่อนเปิดและหลังปิดกรีดยาง
ใส่ปุ๋ยหมักระหว่างแถวปลูกยางพาราอัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่
|
|
|
|
1.2
การนำเศษใบยางพารามาใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน
โดยนำใบยางพาราที่ร่วงหล่นลงดินรวบรวมมาวางเป็นแถวใหญ่ระหว่างแถวของ
ต้นยางพาราเพื่อรักษาความชื้นของดิน
พร้อมทั้งฉีดปุ๋ยอินทรีย์น้ำลงในใบยางพาราเพื่อให้ย่อยสลายเร็วขึ้น
และเป็นอินทรียวัตถุสำหรับปรับปรุงบำรุงดินต่อไป
|
|
2)
|
การป้องกันโรครากและโคนเน่า
|
|
โดยใช้ส่วนผสมของสารเร่ง พด. 3 ที่ขยายเชื้อในปุ๋ยหมักแล้ว สารเร่ง
พด.3
ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืชในดินสามารถนำมาเพิ่มผลิตภาพน้ำยางพาราได้การใส่พร้อมกับการใส่ปุ๋ยหมักในข้อ
1)
ดังนี้
ขยายเชื้อจุลินทรีย์ควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืชโดยใช้สารเร่ง
พด. 3
มีส่วนผสมในการผลิตเชื้อจุลินทรีย์ควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืช
คือ
|
|
-
|
ปุ๋ยหมัก 100 กิโลกรัม
|
-
|
รำข้าว 1 กิโลกรัม
|
-
|
สารเร่ง พด. 3 จำนวน 1 ซอง (25 กรัม)
ใช้ระยะเวลาในการขยายเชื้อในกองปุ๋ยหมักเป็นเวลา 7 วัน
|
|
|
วิธีการใช้ส่วนผสมของสารเร่ง พด. 3 คือ หว่านส่วนผสมของสารเร่ง พด. 3 ที่ขยายเชื้อในปุ๋ยหมักแล้ว
ร่วมกับการใส่ปุ๋ยหมักระหว่างแถวปลูกของยางพารา1
|
|
|
3)
|
การเพิ่มคุณภาพและผลผลิตโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่ผลิตจากสารเร่ง
พด.2
|
|
ผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำโดยใช้สารเร่ง
พด. 2
ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำมีส่วนผสมคือ
|
-
|
เศษเนื้อสัตว์และผลไม้หรือเศษผักผลไม้
40
กิโลกรัม
|
-
|
กากน้ำตาล 10 กิโลกรัม น้ำ 10 ลิตร
|
-
|
สารเร่ง พด. 2 จำนวน 1 ซอง (25 กรัม) ใช้ระยะเวลาหมัก 21 วัน
|
วิธีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่ผลิตจากสารเร่ง
พด.
|
-
|
ช่วงเปิดกรีดยาง
ฉีดพ่นหรือรดปุ๋ยอินทรีย์น้ำลงดินระหว่างแถวปลูกยางพารา อัตราเจือจาง 1 : 200 ในช่วงฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม
พฤศจิกายน ทุก 2
เดือน
|
-
|
ฉีดพ่นปุ๋ยอินทรีย์น้ำ
อัตราเจือจาง 1
: 500 ที่ลำต้น
ตั้งแต่โคนต้นจากพื้นดินสูงขึ้นมาประมาณ 2 เมตร (ช่วงบริเวณที่กรีดยาง) ทุก 2 เดือน การฉีดปุ๋ยอินทรีย์น้ำ
จะทำให้
ผิวหน้ายางอ่อนง่ายต่อการกรีด
และปริมาณน้ำยางออกมาเพิ่มขึ้น
|
-
|
ช่วงปิดกรีดยาง
ฉีดพ่นปุ๋ยอินทรีย์น้ำอัตราเจือจาง 1:500 ลงบนพื้นที่ที่ผิวของลำต้นที่มีการกรีดยางแล้ว
จะทำให้ผิวหน้ายางปิดเร็วขึ้น และสามารถใช้กรีดยางได้ในโอกาสต่อไป
|
|
|
ประโยชน์ที่ได้รับ
|
|
ทำดังนี้แล้วจะทำให้ดินร่วนทรุย
อุ้มน้ำได้ดี ทำให้ดินบริเวณสวนยางชุ่มชื้น ต้นยาง
มีการเจริญเติบโตดี
การผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำไว้ใช้เองทำให้ลดต้นทุนการผลิตและได้ผลิตภาพ
น้ำยางพารามากขึ้น
เกษตรกรมีรายได้และกำไรมากขึ้น ขอขอบคุณข้อมูลจาก
|
|
|
|
กลุ่มระบบงานวิจัย กองแผนงาน
ร่วมกับกลุ่มวิจัยและพัฒนาอินทรียวัตถุเพื่อการเกษตร
สำนักวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน
|