วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

ประวัติและวิวัฒนาการของยาง


ประวัติและวิวัฒนาการของยาง

ก่อนปี พ.ศ. 2000 ชาวอินเดียแดงเผ่ามายัน (Mayan) ในอเมริกากลาง เริ่มรู้จักทำรองเท้าโดยจุ่มเท้าลงในยางดิบหลาย ๆ ครั้ง จนได้ รองเท้าหนาตามต้องการ และ โดยชาวพื้นเมืองเรียกว่า "เกาชู" (caotchu)หรือ อีกเผ่าหนึ่งเรียกว่า "คาอุห์ชุค" (Caoutchoue) แปลว่าต้นไม้ร้องไห้ จนถึงปี 


พ.ศ. 2313 (1770) โจเซฟ พรีสต์ลีย์ พบว่ายางสามารถนำมาลบรอยดำของดินสอได้ จึงเรียกว่ายางลบหรือตัวลบ (rubber) ซึ่งเป็นศัพท์ใช้ในอังกฤษและเนเธอร์แลนด์เท่านั้น
 และ ตั้งชื่อของเหลว ที่ไหลออกจากต้นยางพาราเมื่อกรีดยางว่า เลเท็กซ์ (Latex)

พ.ศ. 2363 โทมัส แฮนคอก ( Thomas Hancork) ชางอังกฤฤษ ได้รับการยกย่องให้เป็น "บิดาแห่งอุตสาหกรรมยาง"



พ.ศ.2369 ฟาราเดย์ (Faraday) เป็นแรกที่รายงานว่า ยางธรรมชาติเป็นสารที่ประกอบด้วย ธาตุคาร์บอนและไฮโดรเจน  ซึ่งมีสูตรเอ็มไพริเคิล คือ C5H8  



พ.ศ.2386 ชาลส์ กูดเยียร์  (Charles Goodyear)ชาวอเมริกา ได้ค้นพบกรรมวิธีการทำให้ ยางคงรูปโดยการ "อบด้วยความร้อน" (Vulanisasion)  โดยเอากำมะถันผสมลงในยางแล้วเผาให้ร้อนถึง 150 องศาเซลเซียส แล้วใช้ความดันช่วย ยางที่ได้จะแข็งแรงทนทาน ไม่เปราะ และไม่อ่อนตัวอีกเลย ทำให้สามารถใช้ทำอุปกรณ์และเครื่องใช้ต่างๆ ได้ เช่น ยางรถยนต์ และยางล้อจักรยาน เป็นต้น

ยางพาราต้นแรกของประเทศไทย

         ความเป็นมาของการปลูกยางในประเทศไทย

พระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง)

              ประวัติศาสตร์ได้บันทึกว่า เมื่อครั้งที่ 
พ.ศ.2442-2444
เจ้าพระยารัษฎานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง
พระยารัษฎานุประดิษฐ์ ได้นำเมล็ดยางพารามาปลูกที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรังเป็นครั้งแรก จึงจัดให้ข้าราชการไปเรียนวิชาปลูกยางเพื่อนำไปถ่ายทอดให้ชาวบ้านรู้จักปลูก รู้จักทำสวนยางบ้าง และได้นำพันธุ์ยางดีๆ ไปแจกจ่ายให้คนใต้รู้จักปลูกยางกันแพร่หลายจนทำให้ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็น"บิดายางพาราของไทย"มาจนทุกวันนี้ และชาวบ้านได้เรียกต้นยางชุดแรกนี้ว่า "ต้นยางเทศา"  

ตั้งอยู่ริมถนนก่อนเข้าสู่ตัวเมืองอำเภอกันตัง
หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมต้นยางไม่โตสักเท่าไหร่เลย
เขาเล่าว่านี่คือหนึ่งในต้นยางชุดแรกที่ ท่านพระยารัษฎาฯ นำมาปลูกแต่เผอิญต้นนี้ปลูกอยู่บนชั้นหินทำให้ต้นไม้ไม่โตเท่าที่ควร

ต่อมา

พ.ศ. 2444 พระสถลสถานพิทักษ์ ซึ่งได้เดินทางไปดูงานที่อินโดนีเซีย สามารถนำกล้ายางกลับมาได้ จึงนำกล้ายางต้นแรกไปปลูกที่บ้านพัก ที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เพราะต้นยางเจริญเติบโตดีมาก การปลูกจึงได้ขยับขยายมากขึ้นๆ จนมีเนื้อที่ถึง 45 ไร่

จากนั้น

พ.ศ.2454 หลวงราชไมตรี (ปูม ปุณศรี) ได้นำพันธ์ยางพาราไปปลูกที่ จังหวัดจันทบุรี ภาคตะวันออก ส่งผลให้อาชีพการทำสวนยางแพร่หลายอย่างกว้างขวาง และรวดเร็ว จนได้มาถึงทุกวันนี้ครับ
 
(อ้างอิงมาจาก wiki/พารา และ  http://www.manager.co.th ) 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น