การผลิตยางก้อนถ้วยคุณภาพดี
ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตยางก้อนถ้วย
ลักษณะของยางก้อนถ้วยคุณภาพดี
- ควรเป็นยางก้อนที่สะอาด ไม่มีสิ่งปลอมปน
- ใช้กรดในการจับตัว
- มีรูปทรง สัณฐานใกล้เคียงกับรูปถ้วยรับน้ำยาง
การเตรียมกรด
- กรดฟอร์มิคเข้มข้น 2 ช้อนแกง (30 CC) ผสมน้ำ 3 กระป๋องนม (900 CC) จะได้Conc. 3%
- บรรจุในขวดพลาสติกที่ฝาปิดเจาะรู เช่น ขวดน้ำ ขวดน้ำกลั่น
วันกรีดที่ 1
กรีดยางจากต้นแรกจนถึงต้นสุดท้ายของแปลงกรีด ตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง
ย้อนกลับมาต้นแรก บีบสารละลายกรดลงในถ้วยน้ำยาง ประมาณ 1 ช้อนแกง (15 CC)ใช้ไม้สะอาดคน ยางจะจับตัวเป็นก้อนในเวลาไม่เกิน 45 นาที
วันกรีดที่ 2

\
ยางจะจับตัวเป็นก้อนที่สมบูรณ์ ให้จับก้อนยางตะแคงเพื่อให้เซรุ่มไหลออกมา
อาจเก็บก้อนยางใส่ในภาชนะที่สะอาด
กรีดยางเช่นเดียวกับวันแรก เดินย้อนกลับมา บีบสารละลายกรดในปริมาณครึ่งหนึ่งของวันแรก
(1/2 ช้อนแกง)
วันที่ 3
- หยุดกรีดเพื่อเก็บยาง ก้อนถ้วยในภาชนะที่ สะอาด
- เมื่อเก็บแล้วให้คว่ำถ้วย
- น้ำเซรุ่มสาดไประหว่าง แถวยางหรือเทใน ภาชนะแล้วนำไปเทในที่ ที่เหมาะสม
ในวันที่ 4-5 (วันกรีดที่ 3-4)
จะกรีดยางเพื่อสะสมก้อนยางและปฏิบัติการผลิตยางก้อนถ้วยเช่นเดียวกับวันที่ 1 – 2 ก็ได้
วันที่ 6
- เก็บยางก้อนถ้วยในภาชนะที่สะอาด
- หลังจากเก็บแล้วให้คว่ำถ้วย
- นำยางก้อนถ้วยไปผึ่งบริเวณที่สะอาด
คำจำกัดความของยางก้อนถ้วย
- ยางก้อนถ้วยสด
1. มีอายุของยางก้อนถ้วย 1 – 3 วัน
2 .ผิวของก้อนยางมีสีขาวจนถึงสีขาวขุ่น มีระดับความชื้นระหว่าง 45 – 55%
3. มีรูปทรงสัณฐานใกล้เคียงรูปถ้วยรับน้ำยาง
4. ผิวของยางก้อนถ้วยมีความนุ่ม
- ยางก้อนถ้วยหมาด
1. มีอายุของยางก้อนถ้วย 4 – 7 วัน
2. ผิวของก้อนยางมีสีขาวขุ่นถึงสีน้ำตาลอ่อน
3. ยางก้อนมีระดับความชื้นระหว่าง 35 – 45 %
4. เป็นยางก้อนที่ไม่มีของเหลวไหลออกจากก้อนยาง
5. ผิวของยางก้อนถ้วย มีความนุ่มจนถึงกึ่งแข็ง
- ยางก้อนถ้วยแห้ง
1. มีอายุของยางก้อนถ้วยมากกว่า 7 วัน
2. ผิวของก้อนยางมีสีน้ำตาลเข้ม
3. ยางก้อนถ้วยมีระดับความชื้นน้อยกว่า 35 %
4. ผิวของยางก้อนถ้วยมีความแห้ง แข็ง
ปัญหาที่พบในการผลิตยางก้อนถ้วยของเกษตรกร
1. ไม่ใช้กรดในการจับตัวยาง ทำให้ยางเปื่อยยุ่ย ค่าความอ่อนตัว (Po) ต่ำกว่ายางที่จับตัวด้วยกรด ก้อนยางมีกลิ่น
เหม็นเน่า
2. มีการใช้สารชนิดอื่นเพื่อจับตัวยางเช่น ปูนขาว Ca(OH)2 , CaO, CaCl2 ,น้ำจากเปลือกผลไม้บางชนิดเช่นละมุด
เป็นต้น
4. ใส่ขี้เปลือกลงในถ้วยยางผสมกับน้ำยางสดในระหว่างขั้นตอนการผลิตยางก้อนถ้วย
5. มีเศษดิน ทรายใบไม้ติดกับยางก้อนระหว่างการเก็บที่มักวางบริเวณโคนต้นยางหรือระหว่างการจำหน่าย
6. ใส่น้ำในถุงบรรจุยางก้อนถ้วยก่อนนำไปจำหน่าย
7. โดนลักขโมย
8. ต้นยางเกิดอาการเปลือกแห้งจากการใช้กรด (ยังไม่แน่ชัด)
9. ผูกขาดซื้อจากพ่อค้าเร่ ทำให้ไม่มีโอกาสต่อรองราคา
10. บางจุดไม่มีตลาดรับ ซื้อยางก้อน
11. ได้ราคาที่ไม่เป็นธรรม ในเรื่องการตีเปอร์เซ็นต์ ความชื้นจากพ่อค้
ผลิตยางก้อนถ้วยมาตรฐาน ป้อนโรงงานยางแท่ง
ยางก้อน หรือยางก้อนถ้วย คือ ยางที่เมื่อกรีดได้น้ำยางแล้วจะใส่สารเคมีและจับตัวเป็นก้อน
เศษยางหรือขี้ยาง คือยางเส้น ยางก้นถ้วย ขี้ยางต่างๆ ทำให้ยางก้อนถ้วยต่างจากขี้ยาง
ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่มาแรงในขณะนี้ เพราะราคายางอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง จึงเป็นเหตุจูงใจให้เกษตรกรปลูกยางจนเกินโควตา ประกอบด้วยเพราะสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและตลาดโลกที่กำลังเจริญเติบโต มีความต้องการใช้ยางเพิ่มขึ้น เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางและอื่น ๆ การพัฒนายางของไทยจึงต้องรุกให้ทันต่อกระแสโลก โดยเฉพาะเกษตรกรผู้ผลิตยางเป็นเกษตรกรระดับรากหญ้า ซึ่งเป็นระดับต้นน้ำที่สำคัญที่ต้องพัฒนาให้มีคุณภาพก่อน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาระดับกลางน้ำและปลายน้ำ การพัฒนาการผลิตยางให้เกษตรกรได้มีทางเลือก นอกจากผลิตยางแผ่นดิบแล้ว ยางก้อนถ้วยก็เป็นการผลิตอีกรูปแบบหนึ่งที่จะพัฒนาให้มีคุณภาพได้เช่นกัน เพื่อเป็นวัตถุดิบนำไปผลิตยางแท่ง STR ที่มีคุณภาพสูง แต่มีต้นทุนการผลิตต่ำเพื่อรองรับการขยายตัวของตลาดยางแท่งที่นับวันจะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น
ปัจจุบันการผลิต ยางก้อนถ้วย ของเกษตรกรได้มีการผลิตแพร่หลายในพื้นที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะจังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดหนองคายได้รวมกลุ่มผลิตจำนวนมาก เกษตรกรโดยเฉพาะในแหล่งปลูกยางใหม่ผลิตยางก้อนถ้วยเป็นทางเลือก เนื่องจากผลิตง่าย ประหยัดค่าใช้จ่าย ใช้เวลาและแรงงานน้อย การผลิตยางก้อนถ้วยที่มีคุณภาพจะต้องมีลักษณะเป็นรูปถ้วย สะอาด สีสวย ไม่มีสิ่งปะปนและไม่มีกลิ่นเหม็น มีน้ำหนักประมาณ 80-500 กรัม
การผลิตยางก้อนถ้วยมีอยู่ 2 วิธี คือ
1. วิธีหยอดน้ำกรดลงในถ้วยน้ำยางปล่อยให้จับตัวตามธรรมชาติ (เป็นวิธีที่แนะนำ)
2. วิธีหยอดน้ำกรดลงในถ้วยน้ำยางแล้วคน (เป็นทางเลือก) มีอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้แก่ น้ำกรดฟอร์มิคเจือจาง 10% (น้ำกรดฟอร์มิค 10 ส่วนผสมน้ำ 90 ส่วน) ถังแกลลอน และขวดฉีดน้ำกรด โดยมีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้
วิธีที่ 1 หยอดน้ำกรดแล้วปล่อยให้จับตัวตามธรรมชาติ ก่อนอื่นให้เตรียมทำน้ำเซรุ่มที่ได้จากการกรีดแล้วปล่อยให้น้ำยางจับตัวเป็นก้อนในถ้วย 2 วัน วันรุ่งขึ้นจึงเริ่มกรีดเพื่อผลิตยางก้อนถ้วย โดยแคะเอายางก้อนขึ้นเสียบที่ลวด จะเห็นน้ำเลี้ยงเซรุ่มอยู่ก้นถ้วย ให้หยอดน้ำกรดฟอร์มิคเจือจาง 10% บีบ 1 ครั้ง (ประมาณ 12-15 ซีซีต่อต้น) ลงในถ้วยที่มีน้ำเลี้ยงเซรุ่ม จากนั้นลอกขี้ยางเส้นออก แล้วกรีดอย่าให้ขี้กรีดยางตกในถ้วย กรีดไปจนครบทั้งแปลง จึงกลับมาเก็บยางก้อนที่เสียบลวดไว้ใส่ภาชนะ ส่วนยางที่กรีดปล่อยให้จับตัวเป็นก้อนในถ้วย แล้วมาเก็บในวันกรีดถัดไป จากนั้นให้เก็บก้อนยางรวบรวมใส่กระสอบปุ๋ยหรือถุงตาข่ายไนลอนแล้วนำมาผึ่งเกลี่ยบนแคร่ไม้ยกพื้น หรือชั้นแคร่เหล็กในที่ร่มที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อไม่ให้ก้อนยางติดกัน
วิธีที่ 2 หยอดน้ำกรดแล้วคน โดยลอกขี้ยางเส้นออกจากหน้ากรีดก่อน เช็ดถ้วยยางให้สะอาดก่อนรองน้ำยาง กรีดยางตามปกติจนครบทั้งแปลง เมื่อน้ำยางหยุดไหลให้หยอดน้ำกรดด้วยการบีบ 1 ครั้ง แล้วคนให้เข้ากันปล่อยให้น้ำยางจับตัวเป็นก้อนถ้วย แล้วค่อยมาเก็บในวันกรีดถัดไป วิธีนี้จะใช้เวลาและแรงงานมากกว่าวิธีแรก แต่น้ำยางจับตัวเร็วกว่าภายใน 1 ชั่วโมง และไม่ต้องเตรียมทำน้ำเลี้ยงเซรุ่ม จึงเหมาะที่จะผลิตยางก้อนถ้วยในฤดูฝน หรือในพื้นที่ที่มีฝนตกชุก
ทั้ง 2 วิธีนี้แม้จะเป็นเกษตรกรมือใหม่ ก็ทำได้ไม่ยาก เพราะสถาบันวิจัยยางได้กำหนดมาตรฐานการผลิตยางก้อนถ้วยเพื่อใช้เป็นแนวทางให้เกษตรกรปฏิบัติ ยางก้อนถ้วยที่ดีจะต้องเป็นยางที่กรีดแล้วปล่อยให้น้ำยางจับตัวในถ้วยด้วยการหยอดน้ำกรดหรือจับตัวตามธรรมชาติ กรดที่ใช้เป็นกรดฟอร์มิคหรือกรดอะซิติค ยางก้อนถ้วยที่ผลิตได้ต้องสะอาด ไม่มีสิ่งปลอมปน เช่น เปลือกกรีด เศษไม้ กรวด หิน ดิน ทราย และมีสีตามธรรมชาติ มีน้ำหนักประมาณ 80-500 กรัม มีเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ ยางก้อนถ้วยที่เหมาะต่อการซื้อขายควรมีอายุไม่เกิน 4 วัน มีความชื้นประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งหากเกษตรกรสามารถผลิตยางก้อนถ้วยให้ได้มาตรฐานที่แนะนำนี้ จะทำให้เกษตรกรขายได้ในราคาสูง และมีผลดีต่อการผลิตยางแท่งเพื่อการส่งออกด้วย

การซื้อขายยางก้อนถ้วย
สำหรับการซื้อขายยางก้อนถ้วย พ่อค้าจะประเมินราคาจากเปอร์เซ็นต์ความชื้นที่อยู่ในก้อนยาง โดยยางกรีด 2 มีด แล้วนำไปผึ่งไว้นาน 3 วัน ยางก้อนถ้วยจะมีความชื้นเฉลี่ย 45% มีปริมาณเนื้อยางแห้ง 55% ซึ่งจะคิดราคาอ้างอิงจากราคายางแผ่นดิบชั้น 3 เป็นหลัก ถ้ายางก้อนถ้วยสกปรก หรือมีขี้เปลือกและสิ่งปะปน จะถูกหักราคากิโลกรัมละ 5-10 บาท ขึ้นอยู่กับปริมาณและชนิดของสิ่งปะปน ดังนั้น เกษตรกรควรผลิตยางก้อนถ้วยคุณภาพดี ซึ่งจะช่วยให้ได้รับราคาที่เป็นธรรมและได้รับผลตอบแทนสูง ทั้งยังช่วยสนับสนุนให้อุตสาหกรรมยางแท่งของไทยเกิดความมั่นคงมากยิ่งขึ้น